CRO – Conversion Rate Optimization คืออะไร แนะนำวิธีช่วยเพิ่มยอดขายออน…

페이지 정보

profile_image
작성자 Brandie
댓글 0건 조회 4회 작성일 24-11-16 00:46

본문

การที่จะรู้ว่า การทำการตลาดนี้ทำให้แบรนด์ประสบความสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น การได้ Lead ที่ต้องการ หรือทำการสร้างยอดขายได้ แน่นอนว่า จะต้องทำการวัดผลลัพธ์ หรือที่เรียกว่า ‘Conversion Rate’ เมตริกสำคัญที่นักการตลาดมักจะใช้ในการวัดผลสัดส่วนของผู้ที่ทำการตอบสนองต่อโฆษณา หรือยอดผู้ซื้อจริง แต่ก็มีหลายครั้งเหมือนกันที่ทำการวัดยอด Conversion แล้วกลับไม่เป็นไปตามที่คาดคิดไว้ ซึ่งอาจจะเกิดได้จากหลายปัจจัย ทำให้ธุรกิจได้รับผลกระทบได้หากไม่ทำการแก้ไขยอด Conversion กลับมาอยู่ในเกณฑ์ที่สร้างกำไรให้ได้  ดังนั้น บทความนี้ Blog9T ของBlog9Tจึงจะมาบอกเล่าวิธีการเพิ่มยอด Conversion ให้ดีขึ้นได้สำหรับธุรกิจที่ทำออนไลน์ นั่นคือ การทำ Conversion Rate Optimization หรือ CRO โดยบทความนี้จะมาบอกว่า Conversion Rate Optimization คืออะไร ทำไมต้องทำ มีองค์ประกอบอะไรที่เกี่ยวข้อง ไปจนถึงจะลงมือทำได้อย่างไรบ้าง ถ้าอยากรู้แล้ว ตามBlog9Tไปดูพร้อมๆ กันได้เลยครับ เลือกอ่านตามหัวข้อ CRO – Conversion Rate Optimization คืออะไร Conversion rate optimization มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร องค์ประกอบที่สำคัญในการทำ Conversion Rate optimization ขั้นตอนการทำ Conversion Rate Optimization Conversion Rate Optimization เหมาะกับใคร CRO – Conversion Rate Optimization คืออะไร CRO ย่อมาจาก Conversion rate optimization คือ กลยุทธ์การเพิ่ม Conversion ให้กับธุรกิจด้วยวิธีการต่างๆ เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพของเว็บไซต์หรือประสบการณ์การใช้งานในหน้า Landing Page ให้เป็นไปตามพฤติกรรมของผู้เข้าชมเว็บไซต์ เพื่อช่วยปรับปรุงให้ผู้เข้าชมกระทำการบางอย่าง เช่น กรอกฟอร์ม กดสมัคร ซื้อสินค้า ให้ข้อมูลส่วนตัว ฯลฯ ตามที่ธุรกิจตามที่ต้องการ (Conversion) ในหน้าดังกล่าว เป็นต้น  และเมื่อเกิด Conversion แล้ว ก็จะนำมาคำนวณหา Conversion Rate โดยใช้สูตร (จำนวนการสั่งซื้อสินค้า/จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ทั้งหมด) x 100 ยกตัวอย่างเช่น มีคนซื้อสินค้า 100 คน มีคนเข้าหน้าเว็บไซต์นั้นทั้งหมด 1000 คน Conversion Rate ก็จะเป็น 10% ซึ่งถ้ายอด Conversion Rate ก็เท่ากับธุรกิจประสบความสำเร็จมากขึ้น สร้างยอดขายได้เยอะขึ้น แต่ถ้า Conversion Rate มีอัตราลดลงก็จะต้องพึ่งพาการทำ  Conversion rate optimization ด้วยกลยุทธ์ต่างๆ ให้ดีขึ้นนั่นเอง Conversion rate optimization มีประโยชน์กับธุรกิจอย่างไร ที่มาภาพ: vwo.com ช่วยปรับปรุงและพัฒนา ROI Marketing การวางแผนทำ Conversion Rate Optimization จะช่วยปรับปรุงผลตอบแทนจากกิจกรรมทางการตลาด ( ROI Marketing) เกือบทั้งหมดให้ดีขึ้นได้ในระยะยาวในหลายด้าน เช่น การปรับปรุงคุณภาพ/ความเร็วของการทดสอบเว็บไซต์ และช่วยค้นหารูปแบบของเว็บไซต์ที่ดีที่สุดเพื่อทำให้เกิด Conversion ได้จากการทดสอบองค์ประกอบต่างๆ บนหน้า Landing Page รวมถึงสามารถใช้ข้อมูลที่รวบรวมได้มาเป็นมาตรฐานพื้นฐานสำหรับการทดสอบ/การทดลองรอบถัดไปได้ด้วย สร้างรายได้ที่ดีขึ้นในปริมาณการเข้าชมเท่าเดิม  ตัวอย่างเช่น บริษัทอีคอมเมิร์ซออนไลน์ที่วางแผนจะปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ของลูกค้าด้วยวิธีที่ทำให้การซื้อผลิตภัณฑ์ง่ายขึ้น โดยทดสอบผ่านการทำ A/B Testing โดยไม่จำเป็นต้องทดลองออกแคมเปญใหม่ เพื่อเรียกคนมาเข้าชมใหม่เรื่อยๆ แต่เป็นการทำการตลาดกับฐานเดิมในรูปแบบที่ดีขึ้น ช่วยในการปรับปรุง UX เพื่อมอบประสบการณ์ผู้ใช้ที่ดีขึ้นในทุกขั้นตอนการทำ Conversion Rate Optimization จะช่วยในการปรับปรุงให้แบรนด์สามารถสร้างประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้มากขึ้น โดยวิธีการต่างๆ เช่น ปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ ทำความเข้าใจพฤติกรรมผู้เข้าชม เป็นต้น โดยการใช้ข้อมูลเชิงคุณภาพมาสร้าง UX ที่ดี และปูทางไปสู่การทำ Conversion ที่ดีขึ้น ดีต่อการทำ SEO เพราะการทำ Conversion Rate Optimization เป็นส่วนที่ช่วยให้เว็บไซต์มีอัตราการตีกลับ (Bounce Rate) น้อยลง เนื่องจากคนจะอยู่ในหน้า Landing Page นั้นนาน หรืออาจจะกระทำการบางอย่างกับหน้าเพจนั้นๆ ส่งผลให้ Google มองเห็นว่าหน้านั้นๆ เชื่อถือได้ ส่งผลให้เว็บไซต์ได้อันดับจาก Google ที่ดีใน Keyword ที่ต้องการมากขึ้นนั่นเอง ช่วยเอาชนะคู่แข่งในตลาด การเกิด Conversion Rate ที่สูง แสดงให้เห็นว่าสินค้าหรือบริการของคุณสามารถทำบางอย่างไดีดีกว่าคู่แข่ง หรืออาจจะเป็นการส่งสัญญาณให้ธุรกิจมองเห็นกลุ่มเป้าหมายที่จะต้องทำการสื่อสารว่าเป็นใครได้ชัดเจนมากขึ้น รู้ว่าใครคือคนที่จะซื้อสินค้าและจะทำให้เขากลายเป็นกลุ่มลูกค้าได้อย่างไรบ้าง องค์ประกอบที่สำคัญในการทำ Conversion Rate optimization นักการตลาดจะพบกับองค์ประกอบหลัก 5 ประการที่สามารถเพิ่มประสิทธิภาพในการทำ Conversion Rate optimization ให้ประสบความสำเร็จได้ ดังนี้ Landing page การออกแบบ Landing page ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญสำหรับการทำ CRO เพราะเว็บไซต์เป็นเหมือนหน้าด่านแรกที่คนจะได้รู้จักกับแบรนด์ หากทำการปรับปรุงให้หน้า Landing page ให้สามารถสร้างประสบการณ์ใช้งานที่ดีได้ ก็จะช่วยสร้าง First Impression ที่ดีให้กับผู้มาใหม่ และมีโอกาสสร้าง Conversion ในกลุ่มของขาประจำที่ใช้งานเว็บไซต์ของคุณอยู่แล้วด้วย  โดยสิ่งที่ต้องออกแบบก็มีหลายอย่าง เช่น การทำให้  Landing page สามารถตอบสนองการใช้งานได้ในทุกเบราว์เซอร์และทุกแพลตฟอร์ม (Mobile, Tablet, Desktop), สามารถโหลดข้อมูลและรูปภาพได้อย่างรวดเร็ว (ไม่ควรเกิน 3 วินาที) เป็นต้น ซึ่งหลายๆ เรื่องก็เกี่ยวข้องกับการทำ SEO ด้วยเช่นกัน (ลองดูว่ามีเรื่องไหนที่เป็นปัจจัยเกี่ยวข้องในด้านเว็บไซต์และ SEO บ้าง ในบทความ On-Page SEO คืออะไร มีวิธีทำยังไงให้ติดอันดับ) Call-to-action ปุ่ม Call to Action (CTA) ควรที่จะออกแบบให้สังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน มีข้อความที่กระชับ เข้าใจง่าย และดึงดูดให้ผู้ใช้ตัดสินใจได้อย่างรวดเร็ว เช่น การออกแบบขนาด สี ไปจนถึงฟอนต์ที่ใช้กับปุ่ม Call to Action ที่จะต้องมีการวาง CI (Corperate Identity) เพื่อสร้างลักษณะเฉพาะของแบรนด์เพื่อสร้างทิศทางของแบรนด์ให้เป็นที่จดจำไปพร้อมๆ กับกระตุ้นให้อยากคลิกมากขึ้น (ถ้าสนใจเกี่ยวกับการออกแบบ CTA Blog9Tเคยเขียนบทความถึงเรื่องนี้เอาไว้ครับ ตามไปอ่านแบบละเอียดได้เลยที่ Call To Action คืออะไร CTA ย่อมาจากอะไร ทำไมต้องทำ [ดูตัวอย่างฟรี!]) ที่มาภาพ: javascript Copywriting การเขียน Copywriting บนเว็บไซต์เป็นอีกองค์ประกอบหนึ่งที่ช่วยจูงใจชวนให้คลิกได้มากขึ้น อย่างเช่น การออกแบบคำบนปุ่ม CTA เองก็จำเป็นต้องใช้ Copywriting ที่ทำให้รู้สึกกระตุ้นให้รู้สึกอยากคลิก อาจจะลองเปลี่ยนข้อความธรรมดา เช่น สมัครสมาชิก ลงทะเบียน ซื้อสินค้า ฯลฯ เป็นคำอื่นๆ ที่กระตุ้นความสนใจได้มากยิ่งขึ้น เช่น  ที่มาภาพ: neilpatel เปลี่ยนจากคำว่า Download เป็น Get Your Free E-Book ที่ช่วยทำให้คนใช้งานเว็บไซต์รู้สึกว่า ได้รับของฟรีกลับมาแน่นอนหากทำการคลิกปุ่มนี้ เปลี่ยนจากคำว่า SUMMIT เป็น Get Free Quote ที่ช่วยสร้างความรู้สึกเชิงบวกและชวนคลิกมากขึ้นกว่าการขอให้กดตกลงแบบปกติ เปลี่ยนจากคำว่า Buy Now เป็น Add to cart – save 25% ที่ทำให้รู้สึกว่าได้รับความคุ้มค่าและความพิเศษจากการซื้อครั้งนี้มากขึ้น Navigation และ Site structure ที่มาภาพ: wo.com หลักการออกแบบเว็บไซต์ที่ดี คือ การออกแบบแผนผังเว็บไซต์ให้เข้าใจง่าย ให้สามารถเข้าถึงข้อมูลในส่วนต่างๆ ได้เร็วที่สุดด้วยการใช้ระบบนำทางในเว็บไซต์ หรือ Navigation ให้ง่ายที่สุด และทำการวาง Site structure หรือโครงสร้างเว็บไซต์ให้เป็นระเบียบ เพื่อให้อัลกอริทึมของ Google เข้าใจว่าเว็บไซต์นั้นพูดถึงเรื่องอะไร และหาสิ่งต่างๆ ภายในเว็บไซต์เจอมากขึ้น ส่วนผู้ใช้งานเองก็จะรู้สึกว่าเว็บไซต์ใช้งานได้ง่าย ไม่ซับซ้อน หาอะไรก็เจอ Forms การปรับแต่งช่องที่ใช้ในการกรอกข้อมูล (Lead Form) ให้มีประสิทธิภาพในการสร้าง Conversion ได้มากขึ้นนับเป็นอีกองค์ประกอบสำคัญของการทำ CRO ด้วยเช่นกัน โดย Form ขอข้อมูลที่ดีนั้นควรเป็นอย่างไรบ้าง ลองมาดูสรุปไปพร้อมๆ กัน ดังนี้ ขอเฉพาะข้อมูลที่สำคัญ เมื่อคุณต้องการ Lead จำนวนมาก การขอข้อมูลเยิ่นเย้ออาจทำให้สูญเสียรายชื่อเหล่านั้นไปได้ ดังนั้น แนะนำให้ทำการเลือกเฉพาะข้อมูลที่จะนำไปทำการตลาดหรือส่งเสริมการขายต่อได้ เช่น ชื่อ-สกุล, อีเมล, เบอร์โทรศัพท์, อาชีพ เป็นต้น เพื่อทำให้ว่าที่ลูกค้าไม่ต้องมาเผชิญหน้าการขอข้อมูลที่มากเกินความจำเป็น แต่ถ้าคุณต้องการข้อมูลเพิ่มเติมจริงๆ แนะนำให้ส่งอีเมลเป็นของบางอย่างเพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนขอข้อมูลเพิ่มเติม เช่น กรอกรายละเอียดรับส่วนลดพิเศษ เป็นต้น ออกแบบมาอย่างดี การออกแบบฟอร์มให้สวยงาม ชัดเจน สอดคล้องกับมู้ดและโทนของเว็บไซต์ก็เป็นเรื่องสำคัญ เพราะจะช่วยทำให้ผู้ที่จะกรอกข้อมูลรู้สึกถึงความน่าเชื่อถือ ความปลอดภัยในการให้ข้อมูล รวมถึงจะต้องมีการทำเรื่องขอความยินยอมในการเก็บข้อมูล และแนบ Privacy Policy ทุกครั้งด้วยจึงจะไม่เป็นการทำผิดกฎของ PDPA รู้จักใช้ลูกเล่นให้เป็นประโยชน์ Form แบบออนไลน์ นอกจากการต้องพิมพ์กรอกข้อมูลแบบยืดยาวแล้ว ยังสามารถปรับฟังก์ชันให้เป็นแบบตัวเลือก หรือจะทำ Select box เพิ่มเติมก็ได้ เพื่อความรวดเร็วในการกรอกข้อมูล ดังนั้น อย่าลืมเรียนรู้ที่จะใช้งานฟังก์ชันต่างๆ เหล่านี้ด้วย ขั้นตอนการทำ Conversion Rate Optimization สำหรับขั้นตอนการทำ Conversion Rate Optimization Blog9Tจะขอแบ่งออกเป็น 5 ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ ขั้นที่ 1 การทำ Research  เป็นขั้นตอนเริ่มต้นสำหรับการทำวิจัยในทุกๆ เรื่อง ไม่เว้นแม้แต่การหาปัจจัยที่ทำให้เกิดหรือไม่เกิด Conversion Rate ซึ่งการสำรวจจะหาต้นตอของปัญหาให้เจอและสิ่งที่ต้องการแก้ไขให้ชัดเจน ด้วยการทำความเข้าใจก่อนว่าผู้ใช้งานเว็บไซต์เข้ามาทำอะไร จากการวิเคราะห์ Data โดยใช้เครื่องมือต่างๆ ที่มี เช่น Google Analytics, Search Console เป็นต้น  หลังจากนั้นนำข้อมูลต่างๆ มาวิเคราะห์หาพฤติกรรมของกลุ่มเป้าหมายเพื่อดูว่าฟีเจอร์ต่างๆ ในเพจมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้อย่างไร เช่น คุณดูข้อมูลแล้ววิเคราะห์ได้ว่า หน้า Landing Page ได้ Conversion มากกว่าหน้า Sale Page ซึ่งก็ต้องมาดูกันต่อว่าอะไรทำให้มากกว่า และมีอะไรที่จะปรับปรุงหน้า Sale page ได้บ้าง โดยในขั้นนี้คุณควรจะกำหนดค่าในการวัดผลให้ชัดเจนไปเลยว่าควรที่จะได้เท่าไหร่ ขั้นที่ 2 การตั้งสมมติฐาน เมื่อรวบรวมข้อมูลและทำการกำหนดผลลัพธ์ที่ต้องการแล้ว ก็ต้องทำการตั้งสมมติฐานจากการคาดเดาว่า ผลลัพธ์ที่ออกมาจากเป็นแบบใด ยกตัวอย่างเช่น หากทำการเพิ่ม Testimonial หรือรีวิวจาก Social จะช่วยทำให้คนเลือกกด Add to cart เพิ่มขึ้น 5% เพราะช่วยเพิ่มความมั่นใจในการซื้อของในเว็บไซต์ให้กับผู้บริโภคได้ เป็นต้น ซึ่งการตั้งสมมติฐานให้ครอบคลุมนั้นจะต้องอาศัยความรู้ ความสามารถ และประสบการณ์ของผู้วิจัย การใช้หลักเหตุผล การใช้ทฤษฎี แนวคิด และหลักการที่เหมาะสม การศึกษาค้นคว้าจากเอกสาร บทความ รายงาน และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงมีการศึกษาเปรียบเทียบเพิ่มเติมด้วย ขั้นที่ 3 การจัดลำดับความสำคัญ หลังจากนั้นให้ทำการลำดับความสำคัญในการเลือกที่จะทำ CRO โดยดูว่า… หน้าไหนเป็นหน้าที่มีประสิทธิภาพแย่ที่สุดและสามารถปรับปรุงได้ หลังจากนั้นดูว่าหน้าที่เลือกมานั้น หน้าไหนที่มีการเข้าชมที่มีค่าที่สุด เช่น เป็นหน้าขายสินค้า เป็นหน้าที่กดลงทะเบียนสมัคร เป็นหน้า Add to Cart เป็นต้น สุดท้ายต้องดูด้วยว่าหน้าที่เลือกมาสามารถปรับให้เหมาะสมได้หรือไม่ เช่น เป็นหน้าขายสินค้าของ E-Commerce ที่มีความซับซ้อนมากเกินไป ในขณะที่หน้าบางหน้าอาจจะเป็นแค่ Landing Page ที่สามารถปรับแล้วเห็นผลทันที ก็อาจจะต้องเลือกหน้าที่ทำให้เสร็จได้ง่ายกว่ามาทำก่อน ขั้นที่ 4 การทดสอบ A/B Testing เป็นการทดสอบการปรับปรุงด้วยการทำ A/B Testing โดยอาจจะเปรียบเทียบ Elements ต่างๆ ในเว็บไซต์ที่ทำการปรับเปลี่ยนไปบางส่วน หรือทำการเปลี่ยนหน้านั้นทั้งหน้าไปเลยก็ได้ เพื่อเปรียบเทียบ UX ที่เหมาะสม และการทดสอบนี้จะต้องตอบคำถามได้ว่า การเปลี่ยนแปลงบางอย่างในไซต์ของBlog9Tสามารถช่วยให้ได้รับ Conversion ที่ดีขึ้นหรือไม่ คุณจะต้องใช้เวลานานแค่ไหนในการทดสอบ และจะใช้อะไรในการทำ A/B Testing  ขั้นที่ 5 สรุปผลและเรียนรู้ เป็นการสรุปผลการทดลองว่าประสบความสำเร็จหรือไม่ ค่าต่างๆ ที่ได้รับเป็นไปตามที่คาดหวังแค่ไหน สามารถนำแบบทดสอบนี้ไปใช้งานจริงได้หรือไม่ หากทำไม่ได้แล้วจะต้องทำการปรับปรุงอะไรเพิ่มเติมบ้าง เพราะถ้าหากใช้ไม่ได้แสดงว่า Blog9Tยังทำการ Research หรือตั้งสมมติฐานมาไม่ครอบคลุมมากพอ ก็จะต้องย้อนกลับไปทำการสำรวจใหม่ Conversion Rate Optimization เหมาะกับใคร การทำ Conversion Rate Optimization เหมาะสำหรับหลากหลายธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็น… ธุรกิจประเภท B2B/SaaS companies ธุรกิจที่มีกลุ่มเป้าหมายแบบเฉพาะเจาะจงและเป็นสินค้าที่ค่อนข้างมีราคาสูง เนื่องจากเป็นการขายสินค้าระหว่างธุรกิจกับธุรกิจอย่าง B2B หรือ SaaS เหมาะที่จะใช้กลยุทธ์การทำ Conversion Rate Optimization เพราะวิธีนี้จะช่วยเปลี่ยนกลุ่มเป้าหมายที่มีอยู่หยิบมือนั้นให้กลายเป็นลูกค้าได้มากขึ้น จากวิธีการปรับปรุงวิธีทำการตลาดต่างๆ ซึ่งจะช่วย ดึงดูดความสนใจ และสนับสนุนการตัดสินใจซื้อของกลุ่มเป้าหมายได้มากยิ่งขึ้น ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ยกตัวอย่างเช่นเว็บไซต์ POSist ที่ทำเกี่ยวกับ SaaS สำหรับร้านอาหารที่ต้องการเพิ่มจำนวน Lead ที่เข้ามาขอเดโมเพิ่ม พร้อมลดอัตรา Bounce Rate ในการออกจากหน้าแรกและหน้าติดต่อกลับให้น้อยลง จึงทำการปรับปรุงหน้า Landing Page ใหม่ให้มีปุ่มขอลงทะเบียนเพื่อรับเดโมก่อนฟรีแบบโดดเด่นมากขึ้น ซึ่งช่วยเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้นประมาณ 52% ในเดือนเดียว ธุรกิจประเภท eCommerce companies การกดนำสินค้าออกจากตะกร้าหรือเปลี่ยนใจไม่สั่งซื้อสินค้า คือปัญหาที่เป็นความท้าทายมากสำหรับธุรกิจประเภท E-Coomerce ส่วนสาเหตุที่ทำให้ไม่ทำการสั่งซื้อต่อนั้นมีอยู่หลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การมีสิ่งรบกวนอย่าง Pop-Up ที่เด้งขึ้นมาเพื่อให้กดไปหน้าอื่นหรือกรอกฟอร์มต่างๆ ซึ่งทำให้เสียสมาธิและไม่ตัดสินใจซื้อ, บางเว็บไซต์มีตำเลือกการชำระเงินน้อยทำให้รู้สึกยุ่งยาก, มีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม เช่น ค่าส่ง ภาษี เป็นต้น ซึ่งสาเหตุเหล่านี้สามารถปรับแก้ด้วยขั้นตอนการทำ Conversion Rate Optimization เพื่อให้เว็บไซต์เป็นมิตรกับผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น และทำให้ง่ายต่อการกดซื้อของได้มากขึ้นด้วย  ก่อนปรับปรุง หลังปรับปรุง ยกตัวอย่างเช่น เว็บไซต์ PearlsOnly ซึ่งเป็นเว็บไซต์​ขายเครื่องประดับที่สามารถเพิ่มรายได้ 12% จากการปรับปรุงหน้าชำระเงินให้มี CTA ที่ดูแล้วเข้าใจง่าย ไม่รกจนทำให้เสียสมาธิและลดความรู้สึกยุ่งยากในการใช้งานได้มากขึ้นอีกด้วย ธุรกิจประเภท Media/Publishing houses สำหรับธุรกิจต่างๆ เช่น สื่อและสำนักพิมพ์ การเข้าถึงฐานผู้ชมได้จำนวนมากจะเป็นประโยชน์สำหรับการเติบโตของธุรกิจประเภทนี้ค่อนข้างมาก ดังนั้น การใช้ Conversion Rate Optimization เพื่อทดสอบองค์ประกอบต่างๆ ของเว็บไซต์ เช่น การใช้ CTA การลงทะเบียนกรอกฟอร์ม การเขียนเนื้อหาแนะนำ การใช้กลยุทธ์ส่งเสริมการขายอื่นๆ ฯลฯ จะช่วยดึงดูดความสนใจได้มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น BluTV เป็นแอปพลิเคชันที่คล้ายกับ Netflix ในประเทศตุรกี สำหรับวัตถุประสงค์ในการทำ Conversion ของพวกเขาก็คือ การเปลี่ยนจากกลุ่มคนทดลองใช้เป็นสมาชิก โดยในช่วงทดลองใช้ผู้สมัครก็จะต้องทำการให้ข้อมูลส่วนตัวรวมถึงบัตรเครดิตสำหรับหักชำระค่าบริการรายเดือนที่จะเก็บในงวดบิลถัดไปหลังจากใช้งานฟรีเเล้ว 7 วัน และจากการวิจัยของทีมการตลาดพบว่า Conversion ของผู้เข้าชมผ่านมือถือมีค่อนข้างต่ำเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของเว็บไซต์ เนื่องจากหน้าแรกบนมือถือเน้นการให้บริการลูกค้าที่ใช้งานอยู่มากกว่าผู้เยี่ยมชมรายใหม่ จึงได้ทำการปรับโฮมเพจบนมือถือใหม่ โดยการโปรโมตเนื้อหายอดนิยมบางส่วน และเพิ่มส่วนคำถามที่พบบ่อยในตอนท้าย รวมถึงมีเนื้อหาชักจูงให้สมัครมากขึ้น ซึ่งการทดสอบนี้ใช้เวลาเพียง 19 วันก็เห็นแล้วว่า ได้ Conversion เพิ่มขึ้นถึง 42% สรุป Conversion Rate Optimization คือ หนทางหนึ่งที่ช่วยแก้ปัญหาคิดไม่ตกของทีมการตลาดและทีมขายที่มีเป้าหมายในการสร้าง Conversion ให้กับธุรกิจได้มากขึ้น แต่การที่จะทำวิธีนี้ได้ผลก็ต้องเริ่มต้นจากการตั้งวัตถุประสงค์ที่ถูกต้อง รู้ว่าธุรกิจควรทำอะไร ที่มาของรายได้จะมาจากไหนได้บ้าง จึงค่อยนำเทคนิคการทำ CRO เข้ามาใช้งานเพิ่มเติม เพื่อทำให้เกิด Conversion Rate ตามที่บริษัทต้องการได้ง่ายมากยิ่งขึ้น และนี่คือเรื่องที่ต้องรู้เกี่ยวกับการทำ Conversion Rate Optimization ตัวช่วยสำหรับเพิ่มรายได้และกำไรสำหรับธุรกิจยุคดิจิทัลในปัจจุบัน หวังว่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนไม่มากก็น้อย แล้วเจอกันใหม่ในบทความหน้านะครับ Facebook Line Ahrefs คืออะไร ใช้ยังไงให้ติดหน้าแรก ทำไมนักทำ รับทํา seo ราคา ถึงใช้เป็นประจำ Call To Action คืออะไร CTA ย่อมาจากอะไร ทำไมต้องทำ [ดูตัวอย่างฟรี!]

댓글목록

등록된 댓글이 없습니다.